Wednesday, February 23, 2022

เภสัชกรรมไทย การเก็บตัวยา ตัวยาประจำธาตุ

 

จัดทำโดย อ. สุชาติ ภูวรัตน์

นธ.เอกบาลีประโยค 1-2

(อดีตพระธรรมทูตต่างประเทศ)

B.S. Engineering Design Tech.

B.A. ศาสนศาสตร์บัณฑิต

B.S. Computer Information Systems

B.TM.  พทย์แผนไทยบัณฑิต

สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

บ.ภ.พท.ว.พท.ผ.พท.น.

ครูแพทย์แผนไทย 4 ด้าน

ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

ทำเพื่อการศึกษาและประโยชน์แก่ผู้ชม


เภสัชกรรมไทย

การเก็บตัวยา

                   การเก็บยา ตามวิธีการของโบราณ

         ถ้าหากจะพิจารณาให้ดีแล้วเห็นว่ามีความสำคัญ

         มาก สำคัญทั้งด้านให้ได้ตัวยา มีสรรพคุณดี

         และทั้งทางด้านการสงวนพันธุ์ของพืชสมุนไพร

         ของตัวยาให้คงไว้ อยู่ตลอดไป

         เก็บยาต่างๆ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกาลเวลา

 

      วิธีการเก็บยาของแพทย์แผนโบราณมี 4 วิธี คือ

       1).      การเก็บยาตามฤดู

       2).      การเก็บยาตามทิศทั้ง 4

       3).      การเก็บยาตามวันและเวลา

       4).      การเก็บยาตามยาม (กาลเวลา)

 

     1. การเก็บตัวยาตามฤดู (3) เก็บดังนี้ 



      1).  คิมหันตฤดู (ฤดูร้อน)  

       เก็บ เหง้า, หัว, แก่น, ราก                     

           จึงจะได้ยามีสรรพคุณดี 

 

  2). วสันตฤดู (ฤดูฝน)        

       เก็บ ใบ, ดอก, ลูก หรือฝัก        

            จึงจะได้ยามีสรรพคุณดี 

 

  3).  เหมันตฤดู (ฤดูหนาว)  

       เก็บ เปลือกไม้, กระพี้, และเนื้อไม้

           จึงจะได้ยามีสรรพคุณดี

 

2. การเก็บตัวยาตามทิศทางทั้ง 4 

  

 

          1).   วันอาทิตย์,  วันอังคาร     

        เก็บยา   ทิศตะวันออก

 

          2).     วันจันทร์,  วันเสาร์     

       เก็บยา   ทิศตะวันตก


 3).    วันพุธ,  วันศุกร์               

      เก็บยา   ทิศใต้

        

          4).    วันพฤหัสบดี                 

            เก็บยา   ทิศเหนือ

 

     หมายเหตุ ในการเก็บยาตามทิศนี้

      ให้ถือเอาที่อยู่ของหมอผู้เก็บยาเป็นศูนย์กลาง

 

3. การเก็บตัวยาตามวันและเวลา

 

      1).    วันอาทิตย์   

             เช้า    เก็บ  ต้น      

            สาย    เก็บ  ใบ  

            เที่ยง   เก็บ  ราก             

            เย็น     เก็บ  เปลือก 

    

      2).    วันจันทร์      

            เช้า     เก็บ  ราก  

            สาย    เก็บ  แก่น

            เที่ยง   เก็บ  ใบ        

            เย็น    เก็บ   เปลือก 

    

      3).    วันอังคาร       

            เช้า     เก็บ   ใบ       

            สาย    เก็บ   เปลือก

            เที่ยง   เก็บ   ต้น          

            เย็น    เก็บ   ราก

 

      4).    วันพุธ          

            เช้า    เก็บ   ราก   

            สาย   เก็บ   เปลือก

            เที่ยง  เก็บ   ต้น      

            เย็น   เก็บ   แก่น   

  

      5).    วันพฤหัสบดี    

           เช้า    เก็บ   แก่น

           สาย   เก็บ   ใบ  

           เที่ยง  เก็บ   ราก      

           เย็นเก็บ      เปลือก

 

      6).     วันศุกร์   

            เช้า    เก็บ   ใบ

            สาย   เก็บ   ราก

            เที่ยง  เก็บ   เปลือก  

            เย็น    เก็บ   ต้น

     

     7).      วันเสาร์ 

           เช้า     เก็บ   ราก

           สาย    เก็บ   ต้น

           เที่ยง   เก็บ   เปลือก  

           เย็น    เก็บ   ใบ

 

4. การเก็บตัวยาตามยาม (กาลเวลา) 

 


1) กลางวัน

        1).      (  06.00 - 09.00 น. )   ยาม 1   

              เก็บ  ใบ, ดอก, ลูก   

  

        2).      (  09.00 - 12.00 น. )   ยาม 2    

              เก็บ  กิ่ง, ก้าน     

 

        3).      (  12.00 - 15.00 น. )   ยาม 3   

             เก็บ  ต้น, เปลือก, แก่น

 

        4).      (  15.00 - 18.00 น. )   ยาม 4     

             เก็บ  ราก

 


2) กลางคืน

       1).   ( 18.00-21.00 น. )  ยาม 1 

             เก็บ  ราก   

  
   2).      ( 21.00-24.00 น. )  ยาม 2  

             เก็บ ต้น, เปลือก, แก่น


   3).      ( 24.00-03.00 น. )  ยาม 3

             เก็บ กิ่ง, ก้าน   

  
   4).      ( 03.00-06.00 น. )  ยาม 4 

              เก็บ ใบ, ดอก, ลูก

 

ตัวยาประจำธาตุ

ในร่างกายของมนุษย์เราประกอบขึ้นจากธาตุทั้ง 4 ชนิด 

คือ ธาตุดิน 20 ประการ

            ธาตุน้ำ 12 ประการ, 

            ธาตุลม ประการ, 

            ธาตุไฟ 4 ประการ,

            และอากาศธาตุ คือ ช่องว่างในร่างกาย 10 ประการ 

     ธาตุต่างๆเหล่านี้ถือเป็นที่ตั้งที่แรกเกิดของโรค 

ฉะนั้น เมื่อธาตุใด ธาตุหนึ่งเกิดเจ็บป่วย หรือพิการ

ขึ้นมา ตามคัมภีร์ได้จัดลักษณะตัวยาประจำธาตุ 

และรสยาแก้ตามธาตุไว้ดังนี้


1. ลักษณะตัวยาประจำธาตุ 

 


        1).      ดอกดีปลี              

               ประจำ ปถวีธาตุ คือ  ธาตุดิน 20 ประการ

  

        2).     รากช้าพลู       

               ประจำ อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ 12 ประการ

 

        3).    เถาสะค้าน      

               ประจำ วาโยธาตุ คือ  ธาตุลม  6 ประการ     

 

        4). รากเจตมูลเพลิง     

               ประจำ เตโชธาตุ คือ  ธาตุไฟ  4 ประการ

     

         5).    เหง้าขิงแห้ง   

               ประจำ ธาตุอากาศ คือ

               ช่องว่างภายในร่างกาย 10 ประการ

               ได้แก่  ตา 2, หู 2, จมูก 2, ปาก 1,

               ทวารหนัก 1, ทวารเบา 1, ช่องคลอด 1

 

    2. รสยาแก้ตามธาตุ


        1).  ปถวีธาตุพิการ         

            แก้ด้วยยา รสฝาด, หวาน, มัน, เค็ม

 

        2).  อาโปธาตุพิการ  

            แก้ด้วยยา รสเปรี้ยว, ขม,  เมาเบื่อ 

 

        3). วาโยธาตุพิการ    

            แก้ด้วยยา รสสุขุม, เผ็ด, ร้อน

 

        4). เตโชธาตุพิการ 

            แก้ด้วยยา รสเย็น, จืด


     -------------------------------------------------


ความรู้พื้นฐาน ประวัติการแพทย์แผนไทย

จรรยาแพทย์ และจรรยาเภสัช

หลักเภสัช 4 ประวัติเบญจกูล

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_8382.html


https://suchartpoovarat.blogspot.com/2022/02/blog-post.html


https://suchartpoovarat.blogspot.com/2022/02/blog-post_21.html


https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_22.html


เภสัชกรรมไทย เภสัชวัตถุ

 ประเภทพืชวัตถุ จำพวกต้น 

(กรรณิกา-คางแดง)

https://thaitraditionalmedicinebook.blogspot.com/2014/01/blog-post_53.html


 

ศูนย์การแพทย์แผนไทยภูเก็ต

 และสมุนไพร

https://phuketthaitraditionalmedicinecenter.blogspot.com/2013/03/blog-post.html

 -------------------------------------------------

อ้างอิง: ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม

กองการประกอบโรคศิลปะ